การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นคืออะไร
การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) เป็นการวัดและรับรองความรู้ภาษาญี่ปุ่นของผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่ จัดสอบขึ้นทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่น
การสอบแบ่งออกเป็น 3 วิชา เพื่อวัดระดับความสามารถโดยรวมในการใช้ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร ดังนี้ [ความรู้ตัวภาษา] เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับตัวอักษร คำศัพท์ และไวยากรณ์ [การอ่าน] และ [การฟัง] เป็นการวัดความสามารถในการนำความรู้มาใช้ในการสื่อสาร
จัดขึ้นที่ไหน ปีละกี่ครั้ง
การจัดสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (เดือนกรกฎาคม จัดที่กรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ เดือนธันวาคม จัดที่กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา และขอนแก่น) โดยปกติที่ กรุงเทพมหานครจะจัดสอบที่จุฬา
เปิดรับสมัครสอบ JLPT ช่วงไหน
ปกติการเปิดรับสมัคร สอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น จะเป็นไปตามนี้
ครั้งที่ 1 (กรกฎาคม) : ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ – ต้นเดือนเมษายน ของทุกปี
ครั้งที่ 2 (ธันวาคม) : ช่วงต้นเดือนสิงหาคม – ต้นเดือนกันยายน ของทุกปี
สมัครสอบ JLPT ได้ที่ไหน
- สมัครด้วยตนเอง ที่สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ตามลิ้งนี้ไปเลยจ้า https://www.ojsat.or.th/ หาต่อเอาไม่ยาก
- สมัครทางไปรษณีย์
- สมัครทาง online ได้ที่ www.jlptonlinethailand.com
แต่อย่าลืมว่าเขาจะเปิดรับสมัครตามช่วงเวลาข้างบน โดยปกติแล้วจะสมัครได้ทั้งแบบ
สนามสอบและผู้จัดสอบ
สนามสอบ | ผู้จัดสอบ | กรกฎาคม | ธันวาคม |
กรุงเทพมหานคร | สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์http://www.ojsat.or.th/main/https://www.facebook.com/OJSAT/ | ○ | ○ |
เชียงใหม่ | สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาภาคเหนือhttps://ojsatn.wordpress.com/https://www.facebook.com/ojsatn/ | ○ | |
สงขลา | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณwww.j-tsu.com | - | |
ขอนแก่น | สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยขอนแก่นhttps://li.kku.ac.thhttps://www.facebook.com/CILLKKULI/ | - |
เกณฑ์ความรู้ วิชาที่สอบและเวลาสอบ
ระดับสอบ | เกณฑ์ความรู้ | วิชาที่สอบ (เวลาสอบ) | ||
N1 | สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ในวงกว้างได้ | ความรู้ตัวภาษา (อักษร คำศัพท์ และไวยากรณ์) และการอ่าน<110 นาที> | การฟัง<60 นาที> | |
N2 | สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ชีวิตประจำวันได้ และสามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ในวงกว้างได้ในระดับระดับหนึ่ง | ความรู้ตัวภาษา (อักษร คำศัพท์ และไวยากรณ์) และการอ่าน<105 นาที> | การฟัง<50 นาที> | |
N3 | สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ในระดับหนึ่ง | ความรู้ตัวภาษา (อักษรและคำศัพท์)<30 นาที> | ความรู้ตัวภาษา (ไวยากรณ์) และการอ่าน<70 นาที> | การฟัง<40 นาที> |
N4 | สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นในระดับพื้นฐาน | ความรู้ตัวภาษา (อักษรและคำศัพท์)<30 นาที> | ความรู้ตัวภาษา (ไวยากรณ์) และการอ่าน<60 นาที> | การฟัง<35 นาที> |
N5 | สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานได้ในระดับหนึ่ง | ความรู้ตัวภาษา (อักษรและคำศัพท์)<25 นาที> | ความรู้ตัวภาษา (ไวยากรณ์) และการอ่าน<50 นาที> | การฟัง<30 นาที> |
จะรู้ได้ยังว่าสอบระดับไหนดี ?
เดิมทีข้อสอบแบบเก่า ตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 4 (ไม่ใช่ N1-N5) จะมีการนิยามรายละเอียดของผู้สอบไว้อย่างไว้อย่างเป็นรูปธรรมระดับนึง อย่างน้อยก็มากกว่าแบบ N1-N5 เช่น ระดับ 1 ควรต้องมีความรู้ด้านไวยากรณ์ระดับสูง (อย่างน้อยก็น่าจะสัก 800 รูปประโยคได้ตามความเข้าใจของผม แต่คงไม่มีใครนั่งนับ) คันจิประมาณ 2,000 ตัว คำศัพท์ประมาณ 10,000 คำและมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นในทักษะรวมที่จำ เป็นในการใช้ดำรงชีวิตในสังคม
แต่ในข้อสอบแบบ N1 ถึง N5 จะมุ่งเสนอในรูปทักษะ “การอ่าน” “การเขียน” อธิบายก็ค่อนข้างเป็น นามธรรม ทำให้เข้าใจยากและไม่รู้ว่าจะเตรียมตัวสอบแบบไหนดี แต่พอเอาเข้าจริงเกณฑ์การแบ่งระดับของข้อสอบแบบ N1-N5 ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมมากนัก ดังนั้น ในการตัดสินใจเลือกระดับสอบ ท่านก็เอาหลักเก่าไปใ้อ้างอิงได้ ตามต่อไปนี้ครับ
ระดับ 1 (เทียบเคียง N1) คันจิ 2,000 ตัว คำศัพท์ 10,000 คำ เวลาเรียนประมาณ 900 ชั่วโมง
ระดับ 2 (เทียบเคียง N2) คันจิ 1,000 ตัว คำศัพท์ 6,000 คำ เวลาเรียนประมาณ 600 ชั่วโมง
ระดับ 3 (เทียบเคียง N4) คันจิ 300 ตัว คำศัพท์ 1,500 คำ เวลาเรียนประมาณ 300 ชั่วโมง
ระดับ 4 (เทียบเคียง N5) คันจิ 100 ตัว คำศัพท์ 800 คำ เวลาเรียนประมาณ 150 ชั่วโมง
ข้อสรุป
สำหรับระดับ N3 เป็นระดับที่แทรกเข้ามาระหว่าง ระดับ 2 กับ ระดับ 3 ซึ่งเดิมค่อนข้างจะมีช่องว่างเยอะ ทำให้คนมีตัวเลือกมากขึ้นในการทดสอบตัวเองครับ
ผมคิดว่าถ้าแต่ละท่านจะทดสอบตัวเองผ่านการสอบวัดระดับ ก็ควรจะเริ่มที่ N4 เป็นอย่างน้อยครับ เพราะนั้นหมายถึงพื้นฐานที่ใช้ต่อยอดสู่การใช้จริงของเราเริ่มมีแล้ว และ N4 ก็คือความรู้มินนะ 4 เล่มนั้นเองครับผม
สุดท้ายนี้ ข้อสอบรูปแบบเก่าตามที่ผมเคยลองทำมาอย่างของระดับ 1 ค่อนข้างจะง่ายกว่า N1 แต่ต้องผ่านด้วยคะแนนที่สูงกว่า ขณะที่ข้อสอบแบบใหม่จะมีเนื้อหาที่ยากกว่าแต่เกณฑ์เพื่อที่จะสอบผ่านอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ก็ไม่ค่อยจะแตกต่างกันมากนัก
การสอบก็คือการสอบ เราสอบให้ผ่าน แล้วก็ไปทำอะไรที่ชอบกัน !!